25 มกราคม, 2558

เรื่องการวางเงิน กับกลยุทธ์การเทรด

เรื่องการวางเงิน  กับกลยุทธ์การเทรด
เทรดจำนวนเท่าไหร่ กี่ Lot กี่ Unit เท่าไหร่ดี?

การวางเงินในการเทรดแต่ครั้ง ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์วิธีการเทรดของเรา
แผนการเทรด เป็นตัวกำหนด MM - (Money Management)
ขึ้นกับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้
ขนาดทุนแต่ละครั้งไม่เยอะ ก็สามารถเทรดจำนวนครั้งที่มากได้
ยอมขาดทุนครั้งละมาก ๆ ก็จะใช้จำนวนเทรดลดลง

ในบทความนี้จะขออธิบายง่าย ๆ และสามารถนำไปใช้งานได้จริง
ส่วนเรื่องทฤษฎี จะไม่ขอกล่าวในที่นี้

-------------------------------------------------------------------------------

สิ่งที่ควรเข้าใจก่อนคือ Pip กับ Lot ที่ใช้กันแพร่หลายในโปรแกรม MT4 (Meta Trader)
จำนวนเทรด Lot ที่ใช้กัน มาตรฐาน หรือ Standard Lot และหน่วยเป็น US.Dollar

- เทรด 0.01 Lot จะได้กำไร/ขาดทุน จุดละ = 0.1 $
- เทรด 0.1  Lot จะได้กำไร/ขาดทุน จุดละ = 1 $
 - เทรด 1 Lot จะได้กำไร/ขาดทุน จุดละ = 10 $

แต่จะมีบางโบรกเกอร์ที่เป็นบัญชี Mini หรือ Lite จำนวนเทรดก็จะลดลง เช่นใน Instaforex
- เทรด 0.01 Lot จะได้กำไร/ขาดทุน จุดละ = 0.01 $
- เทรด 0.1 Lot จะได้กำไร/ขาดทุน จุดละ = 0.1 $
- เทรด 1 Lot จะได้กำไร/ขาดทุน จุดละ = 1 $




ในโปรแกรม ที่แตกต่างกัน จะมีการเทรดที่เป็น Unit หรือ Quantity เช่น
- เทรด 100 unit  จะได้กำไร/ขาดทุน จุดละ = 0.01 $
- เทรด 1000 unit  จะได้กำไร/ขาดทุน จุดละ = 0.1 $
- เทรด 10000 unit  จะได้กำไร/ขาดทุน จุดละ = 1 $




-------------------------------------------------------------------------------
กลยุทธ์ 2% Rules/ Risk:Reward/ Payoff Ratio
ที่ใช้กันแพร่หลาย

สิ่งหนึ่งที่ผู้เทรดควรมีคือการเทรดเพื่อรักษาต้นทุนให้อยู่รอด
แล้วหลังจากนั้น จึงทำกำไร

แต่มีผู้เทรดจำนวนไม่น้อย เทรดแบบเดิมพัน วัดดวง..ไม่ได้ก็เสีย
ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่แนะนำ ทำให้รวยได้เร็วจริง แต่เวลาเสีย ก็จะเสียทั้งหมด
การสร้างพอร์ตให้่โตอย่างรวดเร็ว รวยเร็ว ๆ อาจจะไม่เหมาะกับบางคน

- มีการนำกฏ 2% Rules มาใช้ เป็นทางเลือกหนึ่ง
ตัวอย่าง : ทุน 1,000$ / จุด Stop Loss ของเราจะอยู่ที่ 20$ ต่อการเทรด 1 ครั้ง

เมื่อเรานำ MM-Model นี้ มากำหนดแผนการ เทรด เข้า-ออก
โดย คำนวนจากจุด Stop Loss ก็จะสามารถควบคุมความเสี่ยงกับพอร์ตของเราได้แล้ว

------------------------------------------------------------------------------
การเทรดแบบ Price Action 
และกลยุทธ์ Risk : Reward Ratio ที่นิยมกันแพร่หลาย
Entry : การเข้าซื้อเมื่อเกิดแท่งกลับตัว Pinbar/Engulfing ฯลฯ กลับตัวในฝั่งขาขึ้นหรือขาลง
แท่งลักษณะนี้จะมีนัยยะมาก ถ้าเกิดบริเวณแนวรับแนวต้านของราคา



------------------------------------------------------------------------------
เมื่อราคามาทดสอบบริเวณ แนวรับ/ต้าน จากนั้นเกิด แท่งกลับตัว Pinbar/Hammmer
เราจะได้จุดเข้าที่แท่ง และกำหนดจุด Stop Loss ไว้ 30pips (หรือเท่ากับ 300 pips ในโบรก 5 จุดทศนิยม)
TP ที่เรา มองหาจะได้ เป็นจำนวนเท่าของจุด Stop Loss เช่น
1 เท่า หรือ 1R - 30 Pips
2 เท่า หรือ 2R - 60 Pips
3 เท่า หรือ 3R - 90 Pips
4 เท่า หรือ 4R - 120 Pips

* Break Even Point หรือ BE คล้าย กับการทำ Trailing Stop
โดยเราเลื่อนจุด Stop มาเป็น บริเวณจุดที่เราซื้อ..เพื่อปกป้องการขาดทุนนั่นเอง

เรานำ MM มาคำนวนเราจะสามารถเปิด ออเดอร์ได้ที่
0.1 Lot / Stoploss 20 pips ซึ่งถ้าเราเสีย ออเดอร์นี้ จะ Loss แค่ -20$ ต่อการเทรด 1 ครั้ง
หรือคิดเป็น 2% ของพอร์ต

ถ้าเราเปิด 0.2 Lot/Stoploss 20 pips ถ้าเสียจะ Loss -40$ = 4% ของพอร์ต
ทีนี้จะเทรดกันเท่าไหร่ก็คำนวน กันให้ดี ๆ ว่าเรายอมรับการเสียครั้งนี้ได้หรือไม่
ถึงมีคนแนะนำว่า ยอมเสียที่ 10% 15% ของพอร์ต ถ้าเราเสียจริง ๆ เรายอมรับได้ไหม

ถ้าเทรดเสียติด ๆ กัน 4 ครั้ง 5 ครั้งพอร์ตเราไหวหรือเปล่า?
การกำหนด MM เป็นเรื่องพื้นฐาน ควบคุ่กับแผนการเทรดของเรา
แต่ไม่ค่อยมีใครบอกให้เราเห็นถึงความสำคัญ
บ้างก็บอกว่า มีวินัยทำตามระบบ..แต่ ๆ ๆ ทำตามระบบทำได้ครับ
ก่อนจะทำตาม ควรจะศึกษาให้ดี ๆ ก่อน นำมาใช้แล้วกันเนอะ



Exit-1 : การกำหนดจุดออก สามารถทำได้หลายแบบ
ขึ้นอยู่กับความพอใจและความชำนาญ โดยส่วนใหญ่ TP ที่ใช้กันจะอยู่ที่ 2R-3R
ข้อดีคือ : มีความแม่นยำระดับหนึ่ง และปิดทำกำไรได้ในราคาที่ดี
ข้อเสีย : ขายหมู

Exit-2 : การทำ Trailing Stop โดยใช้จำนวน R:R ในรูป เมื่อราคาวิ่งไปที่ 5R
แล้วราคาไม่ไปต่อ จะออกได้ที่ 4R
ข้อดี : ทำกำไรได้มากกว่าแบบแรก
ข้อเสีย : หลาย ๆ ครั้ง ราคาวิ่งมาชน Stop แล้ววิ่งต่อทางเดิม ทำให้เสียโอกาส

Exit-3 : การเกิดการกลับตัว ของราคา /แท่งเทียน/หรือ Pattern
ข้อดี : ราคาสามารถวิ่งไปได้ไกล
ข้อเสี่ย : ราคาคืนกลับมาอย่างรวดเร็ว

------------------------------------------------------------------------------

การ มองหาแนวรับ/แนวต้าน เพื่อกำหนด Exit



จากรูป เมื่อทำการ Entry ไปแล้ว
TP-1  จะอยู่บริเวณ ยอดก่อนหน้า
TP-2  หากยังไม่เกิดการกลับตัวของราคา ก็จะมองไป แนวรับ/ต้าน ถัดไป ทางด้านบน
หรือ Exit เมื่อเกิด แท่งกลับตัว ที่เป็น Bearish Engulfing

* นิยมนำ indicator มาใช้ประกอบการเทรด
อย่างเช่น Stochastic CCI RSI รอเข้าซื้อในจุดที่ ต่ำ เพื่อให้ได้ราคา
ที่ดีและมีความแม่นยำเพิ่มมากขึ้น

------------------------------------------------------------------------------

การเทรดแบบ Break Out/ Let Profit Run/ Trailing Stop/ Fibonacci Target
- การเข้าและกำหนดอัตราส่วน R:R ก็สามารถทำได้เช่นกัน
เมื่อราคาเบรกขึ้น เป็นแนวโน้ม วาง Stop และกำหนด TP เป้าหมาย


 ------------------------------------------------------------------------------

- หากเราใช้จำนวน Stop ที่ใกล้ จำนวน Reward  ก็จะเพิ่มสูงมากขึ้นด้วย
แต่ควรใช้อย่างระวัง เพราะราคา อาจจะเหวี่ยงขึ้นลง รุนแรง

 ------------------------------------------------------------------------------


- หลายคนเห็นราคาขึ้นมาเกิด Divergence ก็ทำการสวน Sell ซะเลย
Sto สูง RSI เกิด Overbought เป็นจุดที่ผู้เทรดส่วนใหญ่มักจะทำพลาด
ในจุดนี้ ควรเทรดด้วยความระมัดระวัง 

------------------------------------------------------------------------------

- จากนั้นราคาก็ขึ้นต่อ RSI STO เกิด False แล้วบอกว่า เครื่องมือ ใช้ไม่ได้ผล?
- นอกจากนั้นแล้ว สามารใช้เส้น EMA ในการออกหรือทำ Let Profit Run / Trailing Stop ได้อีกด้วย


-การกำหนดเป้า Fibonacci /Fibo Extension หรือ Fibo Expansion ในการออกเป้า
ที่ระดับ 161.8% ,261.8, 200%,
เป็นวิธีที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่นิยมใช้กันอย่างมาก และ เครื่อง มือ Fibo เป็นที่รู้ ๆ กันอยู่แล้ว
ว่ามีความแม่นยำสูงมาก หากใช้อย่างถูกวิธี

แต่ก็ไม่เสมอไปเพราะการปิดออเดอร์ครั้งนี้
อาจเป็นการ การันตีว่าเราได้ขายหมูไปแล้วตัวเบ่อเร้อ!



กลยุทธ์การเข้า-ออก ไม่ว่าวิธีไหน ๆ ก็มีทั้งข้อดี-ข้อเสีย
สำคัญที่เราใช้แล้วต้องฝึกให้ชำนาญ มีความเข้าใจในเครื่องมือก่อนนำมาใช้งาน
ก่อนที่จะบอกว่า indicator มันใช้ไม่ได้ผล

หรือบางคนชอบเทรดกราฟ เปล่า ๆ ก็ไม่ผิด หากแต่เทรดเดอร์ทุกคน
ก็หวังที่จะให้การเข้าออเดอร์ครั้งนี้ ปิดด้วยการทำกำไรให้ได้...


โชคดีร่ำรวย ทุกคนครับ
fx2trade.com