27 กันยายน, 2558

ค่าเงิน USD/THB และ Purchasing Power

เรื่องของค่าเงิน USB/THB และ Purchasing Power 
หรือ การ Convert Currency Forex
(ทบทวน แนวคิด จาก Live : Mudley Channel ของพี่ต้าน:)

คำว่า Forex (Foreign Exchange Market)  การแลกเปลี่ยนเงินตรา.....(รายละเอียดจาก google)
โดยทั่วไปแล้ว เทรดเดอร์ มักจะให้ความสำคัญกับการเทรดด้วย เทคนิคอล
มากกว่า ที่จะมองปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental)
รวมทั้งตัวผมเองเทรดมาก็ไม่ได้สนใจเท่าไหร่ แต่ถ้าเราเล่นทั้งสองอย่างก็ไม่เสียหลาย

Fundamental ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการมานั่งดู ตารางข่าวออก New Calender ในเว็บ
แล้วเอามาเก็งทิศทาง การขึ้นลงของราคา
แต่จะหมายถึงการดูภาพ ความแข็งแรง เศรษฐกิจ นโยบาย ปัจจัยพื้นฐานของประเทศนั้น



www.xe.com  27-Sep-2015

วันนี้เปิดกราฟ  USD/THB ดอลล่าสหรัฐฯ เทียบกับค่าเงินบาท ของบ้านเรา กันบ้าง
จะเห็นว่า Rate จะอยู่แถว  1$ : 36 Baht ซึ่งเป็นแนวโน้มขาขึ้น มาในช่วง 2-3 ปีมานี้ (2013-2015)
ตัวอย่าง 

ช่วงปี 2011 Rate ดี อยู่แถว ๆ  (1  : 31.45)

ปีนี้เงินบาทอ่อนตัว Rate ต่ำ (1 : 37.44)

-------------------------------------------------------------------------------------

ทีนี้เรามาหาประโยชน์จากการขึ้นลงของ อัตราแลกเปลี่ยนกันดีกว่า

- ถ้าเรามีเงิน 100,000 บาท แล้วเรา Convert เงินไปเก็บเป็น USD ดอลล่า
จะได้ตามรูปล่างนี้ เทียบ Rate ที่ 30 และ 36 (ขอใช้ตัวเลข กลม ๆ เพื่อการเข้าใจ)


1:30 = ได้ 3,333 usd 
1:36 = ได้ 2,778 usd

ทีนี้ ตอนที่เงินแลกได้ 30 บาท : 1 ดอลล่า เราก็ไปแลกเก็บไว้
ถึงช่วงเวลาที่เงินบาท อ่อนค่าลง เราก็แลกกลับมา ก็จะได้เงินบาท เพิ่มมากขึ้น
จากเดิมที่เรามี 3,333 ดอลล่า เราแลกกลับมาตอน Rate : 36 บาท

ก็จะได้ 3,333 x 36 = 119,988 บาท ได้เงินเพิ่มขึ้นมาถึง 20% เลย

--------------------------------------------------------------------------

ทีนี้ด้วยเงิน 100,000 บาทเท่ากัน แต่เราทำให้อำนาจเงินเพิ่มขึ้น จากการแลกไป-มา
 : ถ้าเราซื้อหุ้นที่ราคา 10 บาท :
เดิมทีเรามีเงิน 100,000 บาท @10 = ซื้อได้ 10,000 หุ้น
จากเงินที่เพิ่มมา 20% 120,000 บาท@10 = ซื้อได้ 12,000 หุ้น


ด้วยวิธีนี้จะทำให้เรามีเงินมากขึ้น ซื้อของได้มากขึ้น หรือคิดอีกแบบคือเราซื้อหุ้นได้ถูกลง
เพื่อต่อยอดไป Level 2
หนทางไม่ไกลหรอก...